อาหารปรับฮอร์โมน คลายเครียด ช่วยนอนหลับ วัยทำงาน

โดย เอื้อมพร แสงสุวรรณ NTP รู้ไหมร่างกายมนุษย์มีฮอร์โมนถึง 100 กว่าชนิด ทำงานหน้าที่แตกต่างกันไป บ้างสำคัญมาก บ้างสำคัญน้อย แต่ร่างกายขาดไม่ได้ เนื่องจากทำงานประสนกันแบบ “วงมโหฬี” และหน้าที่ของฮอร์โมนคือ ช่วยการสื่อสารระหว่างเซลล์ ฉะนั้นถ้าฮอร์โมนบกพร่อง ทำงานไม่มีประสิทธิภาพ การสื่อสารระหว่างเซลล์ก็จะสูญเสียไป ทำให้ร่างกายอ่อนแอ จากนั้นก็จะทำงานผิดปกติ             อาการนอนไม่หลับก็เช่นกัน…มาจากระบบการทำงานของฮอร์โมนเพี้ยนไป ร่างกายเลยอ่อนแอ จนสารสื่อประสาทในสมองทำงานผิดปกติ             ก่อนเราจะรู้ว่าจะต้องใช้อาหารอะไรในการช่วยให้ตัวเองนอนหลับ ย้อนกลับไปดูสาเหตุของตนเอง เพื่อให้ทราบว่าฮอร์โมนตัวไหนทำงานผิดปกติ จะได้ให้อาหารซ่อมแซมถูก ทั้งนี้แต่ละคนจะมีสาเหตุแตกต่างกันค่ะ ประเภทของฮอร์โมน             ฮอร์โมน 100 กว่าชนิดที่ว่านั้นแบ่งออกเป็นสองประเภท นั่นคือ ฮอร์โมนที่ละลายในไขมัน และฮอร์โมนที่ละลายในน้ำ เหมือนวิตามินที่แบ่งประเภทการละลาย ฉะนั้นสังเกตตัวเองนะคะว่า หากเรากินอาหารไม่ครบสัดส่วน เช่น ไม่กินไขมันเลย ฮอร์โมนในส่วนที่ละลายในไขมันจะทำงานได้ไม่ดี หากไม่กินโปรตีนไม่พอ การสร้างฮอร์โมนในกลุ่มละลายน้ำก็จะทำงานไม่ดี แต่ทั้งนี้ สุดท้ายการทำงานแบบ “วงมโหฬี” ของฮอร์โมน ก็จะพาระบบร่างกายรวนไปหมด หากเราขาดอาหารอย่างหนึ่งอย่างใดต่อเนื่อง เป็นระยะเวลานาน             ฮอร์โมนละลายในไขมัน คือ กลุ่มที่เรียกว่า Steriod Hormone ได้แก่ คอร์ติซอล (หรือฮอร์โมนที่ช่วยรักษาความสมดุลของร่างกายขณะเครียด ฮอร์โมนเพศ เช่น เทสโทสเตอโรน โปรเจสเตอโรน…

108 อาการอันตราย เมื่อกินไขมันไม่พอ

โดย เอื้อมพร แสงสุวรรณ NTP เรารู้ว่าวิตามินที่ละลายในไขมันคือ วิตามินเอ วิตามินดี วิตามินเค และวิตามินอี และเราก็รู้ว่า คุณประโยชน์ของวิตามินเหล่านี้มีมหาศาล ทั้งนี้หากเรากินไขมันไม่เพียงพอ ในการทำหน้าที่เป็นตัวช่วยดูดซึมวิตามินจากลำไส้เล็กไปใช้ ฉะนั้นไม่ว่าจะกินวิตามินเอ วิตามินดี วิตามินเค และวิตามินอี (ในรูปแบบอาหารหรือแบบเม็ด) ไปมากแค่ไหน ก็สูญเปล่า ร่างกายขับออกไปทิ้งเกลี้ยง ปล่อยให้ร่างกายเสี่ยง 108 อาการอันตราย เหล่านี้ วิตามินเอ เป็นที่รู้จักในนาม “เรตินอล” ควบคุมการแสดงออกของยีน ทำงานเป็นแอนตี้อ็อกซิแดนท์ เป็นตัวตั้งต้นของตัวรับสัญญาณของต่อมไทรอยด์ ช่วยการเติบโตและควบคุมความผิดเพี้ยนของเซลล์ (ใช้ป้องกันและแก้โรคมะเร็ง) ช่วยรักษาการทำงานของหัวใจ ปอด ไต และอวัยวะอื่นให้ทำงานตามปกติ นอกจากนี้ยังมีความจำเป็นสำหรับสุขภาพดวงตา ระบบสืบพันธุ์ ระบบภูมิต้านทาน สุขภาพผิวพรรณ และการสื่อสารของระบบเซลล์ ในปี 1930+ นักวิทยาศาสตร์พบว่า เด็กที่กินน้ำมันตับปลา ซึ่งมีวิตามินเอเข้มข้นนั้น สามารถลดการเกิดโรคหวัดได้ถึง 1 ใน 3 จึงเป็นการยืนยันว่า วิตามินเอช่วยสร้างเสริมระบบภูมิคุ้มกัน และป้องกันการติดเชื้อ ที่ทำให้เป็นโรคเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน นอกจากนี้ ในการทำงานกับต่อมไทรอยด์นั้น วิตามินเอช่วยให้เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของฮอร์โมนไทรอยด์ ช่วยให้อารมณ์เป็นปกติ ผิวพรรณดี ระบบสืบพันธุ์ทำงานเป็นปกติ มีระบบย่อยและการดูดซึมอาหารเป็นปกติ การทำงานของคอร์ติซอลเป็นปกติ…

How to ช่วยอวัยวะการย่อยแข็งแรง เมื่อกินไขมันลดอ้วน

โดย เอื้อมพร แสงสุวรรณ NTP เทรนด์การกินอาหารคีโตมาแรงแบบฉุดไม่อยู่ ปี 2019 อาหารคีโตก็ยังอยู่ในอันดับต้นๆ ของเทรนด์สุขภาพ แต่การกินอาหารคีโตนั้น เน้นการหยุดการทำงานของตับอ่อน ในการผลิตอินซูลินในการแปลงแป้งและน้ำตาล (รวมทั้งโปรตีน) ไปสู่การเป็นกลูโคส และให้ร่างกายเริ่มต้นใช้คีโตนจากตับ ที่เป็นพลังงานที่มาจากไขมัน ฉะนั้นผู้ที่กินคีโต ต้องฝึกการกินแบบใหม่คือ กินคาร์โบไฮเดรตแค่ 5% (เดิมเราเคยกินมากกว่า 50%) มากินไขมันมากกว่า 50% (ซึ่งเดิมเรากินน้อยมาก หรือไม่กินเลย)             เมื่อปรับการใช้พลังงานขนานใหญ่แบบนี้ ถ้าใครอยากกินคีโต เพื่อแก้ปัญหาการควบคุมพลังงาน และระบบการเผาผลาญอาหาร เพื่อแก้ปัญหาอาการผิดปกติ และสุขภาพหลายอย่าง เราก็จำเป็นต้องปรับอวัยวะภายในบางอย่าง (นอกจากปรับแหล่งที่มาของอาหาร) เพื่อให้การกินคีโตมีประสิทธิผล และไม่ ก่อให้เกิดอันตราย             เอื้อมพรNTP เรียบเรียงมาจากหนังสือของ NTP (Nutrition Therapy Practitioner) รุ่นแรก ๆ คุณนอร่า เกดกัวดาส เรื่อง The Primal Fat Buerner มาฝาก โดยเน้น 2 อวัยวะที่ต้องเตรียมให้พร้อม เพื่อการย่อยและการดดซึมสารอาหาร และเพื่อการกินคีโตให้ได้ประสิทธิผล กระเพาะอาหาร ร่างกายต้องหลั่งน้ำย่อยออกมามากพอ  และมีค่า pH ที่มีความเป็นกรดเพียงพอ นั่นคือ pH 2.5-3 ทั้งนี้เพื่อให้การย่อยโปรตีนเป็นไปอย่างสมบูรณ์แบบ พร้อมทั้งการดูดซึมวิตามินบี 12 จากโปรตีน (เนื้อสัตว์) และแร่ธาตุต่าง ๆ มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้การจะให้น้ำย่อยมีค่าความเป็นกรดดังกล่าว…

4 เหตุผลอันตราย ไม่ควรกินโปรตีนลีน

โดย เอื้อมพร แสงสุวรรณ NTP หลายคนลดความอ้วนและเพิ่มกล้ามเนื้อ ด้วยการหยุดคาร์โบไฮเดรต และงดไขมัน ให้ร่างกายใช้พลังงานจากโปรตีนปราศจากไขมัน ซึ่งเรียกกันว่า โปรตีนลีน แต่ช้าก่อน การกินแบบนี้อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายในระยะยาว             แม้ว่าจะประสบความสำเร็จในการสร้างกล้ามเนื้อ ทำให้รูปร่างสวยสมส่วน สมปรารถนาของหนุ่มสาวสมัยนี้ แต่การจะช่วยให้สุขภาพดี ปราศจากโรคภัยคุกคาม ร่างกายไม่เสื่อมโทรมก่อนวัย คุณนอร่า เกดกัวดาสนางพยาบาลวิชาชีพและนักบำบัดโรคด้วยอาหารชาวอเมริกัน ผู้เขียนหนังสือเรื่อง Primal Fat Burner, going beyond the ketogenic diet to live longer, smarter and healthierช่วยมาไขข้อข้องใจดังกล่าว เกิดแอมโมเนียและยูเรียในร่างกาย เนื่องจากโปรตีนประกอบขึ้นด้วยธาตุคาร์บอน อ็อกซิเจน ไฮโรเจน ไนโตรเจน และธาตุอื่น ๆ อีก เรียกว่า “deamination” ต่างจากไขมันและคาร์โบไฮเดรต ซึ่งประกอบด้วยธาตุคาร์บอน อ็อกซิเจน และไฮโดรเจนเท่านั้น ทั้งนี้ไนโตรเจนจากโปรตีน เมื่อเข้าไปในร่างกาย ผ่านกระบวนการย่อย ไนโตรเจนจะกลายเป็นแอมโมเนียและยูเรีย ซึ่งเป็นพิษต่อร่างกาย กลายเป็นภาระของตับและไตในการขับออกจากร่างกาย เป็นภาระของระบบย่อยและระบบการเผาผลาญ ร่างกายสามารถรับโปรตีนได้ในปริมาณจำกัด…

Check ความเข้าใจผิด คนกินคีโต

โดย เอื้อมพร แสงสุวรรณ NTP อาหารคีโตอยู่ในกระแส อยู่ในความสนใจของผู้คน แต่ทั้งนี้ผู้ที่ออกมาแนะนำหรืออ้างว่าเป็นผู้รู้เรื่องคีโต ก็อาจทำให้เกิดความเข้าใจคาดเคลื่อนเกี่ยวกับการกินอาหารคีโตได้ เอื้อมเลยชวนมาเช็คความเข้าใจผิด ช่วยคนคีโต ให้กินคีโตให้ได้ผลลัพธ์ทางสุขภาพที่ต้องการ นำบทความนี้มาเผยแพร่ เพราะมีประสบการณ์ว่า มักเลือกกินอาหารที่สารอาหาร โดยพยายามกินในแต่ละมื้อให้ร่างกายได้รับสารอาหารหลัก (คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน) หลากหลายเพียงพอ พร้อมสารอาหารรอง (แร่ธาตุ วิตามิน) หลากหลายที่สุดเท่าที่จะทำได้ ถ้าไม่สามารถทำได้ในมื้อนั้น ๆ ก็พยายามทำให้ได้ในวันนั้น ๆ  งดอาหารที่จะทำให้ร่างกายเสื่อมทั้งหมด (อาหารแปรรูปทุกชนิด น้ำตาล แป้งขาว อาหารที่ปรุงสุกด้วยน้ำมันแปรรูป ไขมันทรานส์ แอลกอฮอลล์) ดื่มน้ำที่มีแร่ธาตุเพียงพอ และมากพอ หากอยากทดลองปฏิกิริยาของร่างกายต่ออาหารบางอย่าง เช่น กาแฟ ให้สังเกตร่างกายของตนเองว่า มีปฏิกิริยากับเครื่องดื่มชนิดนี้อย่างไร หากมีความผิดปกติ ให้ทดลองซ้ำ จนพบคำตอบ แล้วจดจำ ปรับเปลี่ยนเพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารหลากหลายเพียงพอ  ต้นทางคีโต      คุณโนร่า เกดกัวดาสนางพยาบาล และนักบำบัดโรคด้วยอาหาร ชาวอเมริกัน ผู้เขียนหนังสือชื่อ Primal Fat Burner; going…

อาหารเสริมไทรอยด์ ต้านอารมณ์แปรปรวน

เรารู้ว่าสาเหตุหนึ่งของความเครียดและความไม่สงบในใจ มาจากการทำงานไม่ปกติของไทรอยด์ หรืออีกนัยหนึ่ง (ถ้าจะสาวต้นตอกันให้ถูก) ความเครียดทำให้ไทรอยด์ทำงานไม่ปกติ ซึ่งไม่ว่าจะไก่เกิดก่อนไข่ หรือไข่เกิดก่อนไก่ เราก็ได้กินทั้งไก่และไข่ คือทั้งไทรอยด์ไม่ปกติ และความเครียด via อาหารเสริมไทรอยด์ ต้านอารมณ์แปรปรวน

อาหารเสริมไทรอยด์ ต้านอารมณ์แปรปรวน

โดย เอื้อมพร แสงสุวรรณ NTP เรารู้ว่าสาเหตุหนึ่งของความเครียดและความไม่สงบในใจ มาจากการทำงานไม่ปกติของไทรอยด์ หรืออีกนัยหนึ่ง (ถ้าจะสาวต้นตอกันให้ถูก) ความเครียดทำให้ไทรอยด์ทำงานไม่ปกติ ซึ่งไม่ว่าจะไก่เกิดก่อนไข่ หรือไข่เกิดก่อนไก่ เราก็ได้กินทั้งไก่และไข่ คือทั้งไทรอยด์ไม่ปกติ และความเครียด ความเครียดคืออะไร นิตยสารชีวจิตหลายคอลัมน์ในปักษ์นี้คงนิยามให้แล้วเรียบร้อย เอาเป็นว่า บ.ก.บอกเลยล่ะกันว่า ความเครียดและความไม่ปกติของไทรอยด์นั้น ส่งผลต่อการทำงานของร่างกายอย่างไรบ้าง ปวดหัวจากความเหนื่อยล้า ระบบภูมิคุ้มกันลดลง นอนไม่หลับ หรือหลับทั้งๆ ที่ตื่นอยู่ (คือสมองไม่ทำงาน หรือเบลอนั่นเอง) อารมณ์แปรปรวน (ความผิดปกตินี้ ผู้หญิงมักอ้างว่า ฉันเป็นผู้หญิง ก็ต้องมีอารมณ์นี้นะ แต่ในความเป็นจริงแล้ว…ไม่จำเป็นค่ะ…คุณผู้ชายจำไว้เลย และรีบไปปรับอาหารการกินของเธอด่วน ว่าแต่ปรับอย่างไรนั้น ติดตามต่อไปค่ะ) อยากของหวาน หรือกาแฟ (นี่ล่ะค่ะ สาเหตุความแปรปรวนทางอารมณ์ของคุณผู้หญิง) ควบคุมอาการอยากอาหารไม่ได้ เช่น มือสั่น หรือวิงเวียน เมื่อถึงเวลาอาหาร กินเพื่อบรรเทาความเหนื่อยล้า (คุณผู้ชายเริ่มเห็นปัญหาของสาวใกล้ตัวแล้ว อิอิ) เวียนหัว ขณะลุกยืน ระบบย่อยถูกรบกวน (อันนี้เราอาจมองไม่เห็น แต่ให้สังเกตว่า เวลากินเข้าไปแล้ว เกิดอาการอาหารไม่ย่อย…

กฎ 9 ข้อของอาหารวัฒนธรรม กินด่วน สุขภาพแข็งแรง เหมือนคุณทวด

โดย เอื้อมพร แสงสุวรรณ NTP  ทั่วโลกเริ่มยอมรับกันแล้วว่า อาหารวัฒนธรรม (cultured foods) หรืออาหารพื้นเมือง อาหารท้องถิ่น เป็นอาหารที่อร่อย อุดมไปด้วยสารอาหารครบถ้วนในแบบที่ร่างกายต้องการ โดยเฉพาะเมื่อศึกษาสุขภาพของคนโบราณก่อนปี ค.ศ. 1950 เราพบว่า คนรุ่นทวดหรือโบราณกว่านั้นกินกันมา และป่วยน้อยกว่า หรือไม่ป่วยเลย            จากหนังสือชื่อ Nutrition and Physical Degeneration โดย ดร.เวสตัน เอ.ไพร้ส ซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1939 พบความสัมพันธ์ของอาหารต่อสุขภาพ โดยในรายละเอียดของหนังสือเล่มนี้ กล่าวถึงการกินอาหารวัฒนธรรมแบบคนโบราณนั้น ลดการเกิดโรคได้ ตรงกันข้าม การกินอาหารสมัยใหม่ โดยเฉพาะอาหารที่ผ่านกระบวนการแปรรูปในอุตสาหกรรม กลับทำให้ผู้คนป่วยเป็นโรคต่าง ๆ ได้มากกว่า ในการศึกษาโดยเฝ้าติดตามผู้คนหลายเผ่าพันธุ์ทั่วโลก ดร.ไพร้ส ใช้คุณภาพฟัน (อันเป็นอวัยวะสำคัญที่สะท้อนความครบถ้วนของสารอาหาร) พบว่า แม้ไม่แปรงฟันเลย คนที่กินอาหารวัฒนธรรมก็มีฟันที่แข็งแรงกว่า หากเป็นผู้หญิงก็ตั้งครรภ์อย่างมีประสิทธิภาพ และคลอดบุตรที่แข็งแรง มีลักษณะโครงหน้า ศีรษะ ฟัน และอารมณ์…

รู้จักแคลเซียม แร่ธาตุสำคัญ บำรุงกระดูก และสมดุลกรด-ด่างเลือด เพิ่มการทำงานของหัวใจและไต

    โดย เอื้อมพร แสงสุวรรณ NTP แคลเซียมเป็นแร่ธาตุที่สำคัญที่สุด ซึ่งช่วยสร้างเสริมความแข็งแรงของกระดูก และสมดุลกรดด่างของเลือดแต่อย่างไรก็ตาม เราไม่สามารถกินแคลเซียมอย่างเดียวโดยไม่กินแร่ธาตุอย่างอื่นเข้าไปร่วมด้วยเลย เนื่องจากแร่ธาตุทำงานเป็นทีม หรือที่เรียกกันเล่น ๆ ว่า game of cofactor เราไม่สามารถสร้างแร่ธาตุขึ้นในร่างกายได้จำเป็นต้องกินจากอาหารเท่านั้นและหากขาดแร่ธาตุร่างกายจะย่ำแย่กว่าการขาดวิตามินเสียอีกนอกจากนี้ระหว่างการย่อยอาหารหากอาหารที่เรากินเข้าไปเกิดเป็นอาหารที่ผ่านกระบวนการแปรรูปหรือปรุงแต่งมากร่างกายก็ยากที่จะดูดซึมแร่ธาตุเข้าไปใช้ประโยชน์เมื่อเปรียบเทียบกับวิตามินแล้วแร่ธาตุถูกดูดซึมจากกระบวนการย่อยได้น้อยกว่ามาก อย่างไรก็ตามแร่ธาตุและวิตามินมีบทบาทสำคัญต่อร่างกายเช่นเดียวกันทั้งต่อสุขภาพกายและสุขภาพใจรวมไปถึงการเป็นส่วนหนึ่งของเซลล์ทั่วร่างกายเลือดระบบประสาทระบบกล้ามเนื้อกระดูกและฟันรวมทั้งเนื้อเยื่อทั่วร่างกายแร่ธาตุทำหน้าที่ทั้งการเป็นโครงสร้างและส่งเสริมระบบต่างๆที่กล่าวมาแล้ว ที่สำคัญแร่ธาตุบางตัวยังเป็นส่วนหนึ่งของน้ำที่ร่างกายต้องนำไปใช้ในระบบออสโมซิสหรือการดูดซึมน้ำไปใช้ได้แก่แคลเซียมแมกนีเซียมโปแตสเซียมโซเดียมคลอไรด์ซึ่งเรารวบรวมมากล่าวไว้ในคอลัมน์เรื่องพิเศษฉบับนี้ นอกจากนี้แร่ธาตุบางตัวทำหน้าที่เป็นเอนไซม์ในการทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมีในร่างกายและช่วยทำให้เกิดพลังงานหรือมีส่วนในการย่อยและเผาผลาญพลังงานแร่ธาตุบางตัวช่วยสร้างระบบประสาทกล้ามเนื้อเซลล์เลือดและเนื้อเยื่อ นอกจากนี้แร่ธาตุแต่ละชนิดนั้นไม่ทำงานตามลำพังอย่างที่เราเข้าใจยกตัวอย่างเช่นแคลเซียมเราได้ยินว่ากระดูกของมนุษย์ประกอบด้วยแคลเซียมเป็นหลักแต่ก็ใช่ว่ากินแคลเซียมแล้วร่างกายเราจะนำไปใช้ได้เพราะแคลเซียมต้องการเพื่อนแร่ธาตุตัวอื่นๆที่ไปช่วยกันทำงานให้เกิดผลลัพธ์ตามที่ต้องการโดยเฉพาะแคลเซียมไม่ได้ทำหน้าที่แค่สร้างความแข็งแรงให้กระดูกเท่านั้นทว่ายังเป็นส่วนสำคัญในการสร้างสมดุลกรดด่างของโลหิตไปสู่ความแข็งแรงของระบบกล้ามเนื้อและหัวใจนอกจากนี้ยังทำหน้าที่สำคัญในกระบวนการออสโมซิสในการนำน้ำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกายอีกด้วย ว่าแล้วเรามาดูว่าแร่ธาตุแต่ละตัวนั้นมีความจำเป็นต่อร่างกายอย่างไรและจะต้องกินร่วมกับเพื่อนแร่ธาตุตัวใดบ้าง     แคลเซียม แร่ธาตุสำคัญที่สุด ร่างกายคนเราประกอบด้วยแคลเซียม1.5 – 2.0%เป็นแร่ธาตุที่มีความสำคัญต่อร่างกายมากที่สุดแคลเซียมส่วนใหญ่สะสมอยู่ในกระดูกร้อยละ98เหลือเพียงร้อยละ1กว่าๆที่มีอยู่ในฟัน แคลเซียม10 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์อยู่ในรูปของไอออน5.5 มิลลิกรัม(ช่วยร่างกายออสโมซิสน้ำมาใช้) ช่วยพาโปรตีนไปใช้4 มิลลิกรัมและอีก0.5 มิลลิกรัมที่จะรวมตัวกับแร่ธาตุฟอสเฟสหรือซิเตรตในการรักษาสมดุลความเป็นกรดด่างของเลือด หากแคลเซียมมีไม่เพียงพอต่อการใช้งานต่างๆดังกล่าวต่อมไทรอยด์จะหลั่งฮอร์โมนพาราไทรอยด์ออกมาเพื่อดึงแคลเซียมจากกระดูกไปใช้ อย่างไรก็ตามการจะนำแคลเซียมจากอาหารไปใช้นั้นร่างกายจะต้องการวิตามินดีในการดูดซึมการนำไปใช้และการควบคุมระดับแคลเซียมในเลือดโดยการดูดซึมแคลเซียมนั้นเกิดขึ้นในลำไส้เล็กระหว่างกระบวนการย่อยอาหาร   แคลเซียมVS ฟอสฟอรัสและแมกนีเซียม เพื่อรักษาและสร้างโครงสร้างกระดูกพร้อมทั้งเซลล์กระดูกใหม่ๆนั้นแคลเซียมต้องทำงานร่วมกับฟอสฟอรัสซึ่งต้องการความสมดุลแคลเซียมต่อฟอสฟอรัสที่อัตรา2.5 : 1 ร่วมกับแร่ธาตุอื่นๆที่มีบทบาทลดลั่นกันไปได้แก่แมกนีเซียมซิลิคอนโบรอน เมื่อแคลเซียมอยู่ในกระแสเลือดที่จำเป็นต้องรวมตัวกับฟอสเฟตหรือซิเตรตแคลเซียมต้องการแมกนีเซียมมาช่วยสร้างความสมดุลการเป็นกรดด่างของเลือดซึ่งจะมีผลต่อการทำงานของระบบโลหิตระบบประสาทระบบกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อในการควบคุมการทำงานของหัวใจระบบประสาทและกล้ามเนื้อ เมื่ออยู่ในกระบวนการออสโมซิสหรือการแพร่กระจายของโมเลกุลน้ำเข้าไปหล่อเลี้ยงเซลล์แคลเซียมจะอยู่ในรูปแบบของอิออนอยู่ด้านนอกเซลล์(intracellular fluid compartment) ช่วยทำหน้าที่ควบคุมโมเลกุลของน้ำกับแร่ธาตุตัวอื่นๆในกลุ่มอิเล็คโทรไลต์ได้แก่แมกนีเซียมโปแตสเซียมโซเดียมและคลอไรด์ นอกจากนี้แคลเซียมเป็นแร่ธาตุซึ่งแหล่งแคลเซียมที่ดีที่สุดที่ร่างกายควรได้รับควรมาจากพืชได้แก่ผักสีเขียวเข้มเช่นบร็อคโคลี่ผักโขมรวมทั้งถั่วต่างๆและผลิตภัณฑ์จากนม       แหล่งแคลเซียม/…

อาหารลดอ้วนแนวใหม่ กินปุ๊บ หุ่นปัง

  โดย เอื้อมพร แสงสุวรรณ NTP ปัจจุบัน สูตรอาหารลดความอ้วนมีมากมายหลายแบบ เช่น อาหารปาลิโอ อาหารคีโต แถมยังมีประเด็นยอดฮิต การอดอาหารแบบ intermittent fasting หรือ IF ปักษ์นี้เอื้อม NTPก็มีสูตรอาหารลดอ้วนอีกสูตรหนึ่งมาช่วยลดน้ำหนักกัน เป็นสูตรที่เราเรียบเรียงมาจากหนังสือFAT FLUSH PLANของดร.แอน หลุยส์ กิตเตอร์แมน นักบำบัดโรคด้วยอาหาร ซึ่งกล่าวถึง 10 สาเหตุแท้จริง(root causes) ของความอ้วนเอาไว้ดังนี้(รายละเอียดเรื่องวิธีการลดอ้วนอยู่ในคอลัมน์เรื่องพิเศษ นิตยสารชีวจิต ฉบับวันที่ 16 กันยายน 2561) ตับขับพิษไม่ทัน ไม่ดื่มน้ำ กินไขมันไม่เป็น ดื้ออินซูลินและการอักเสบ ความเครียด จุลินทรีย์ในลำไส้ไม่สมดุล น้ำดีมีไม่พอ ไทรอยด์ทำงานผิดปกติ ติดเชื้อพยาธิ ขาดแมกนีเซียม ตามสาเหตุข้างต้น เอื้อมเลยมาปรับเป็นสูตรการกินง่าย ๆ เพื่อลดน้ำหนัก โดยเฉพาะสำหรับเพื่อนรูปร่างท้วมบางคนที่กินอาหารไม่ครบถ้วน และไม่ถูกสัดส่วน โดย 4 หัวข้อข้างต้นที่ไฮไลต์ไว้คือ อาหารง่าย ๆ…