Mixed Type อาหารควรกิน VS งด สำหรับนักกินสายผสม

โดย เอื้อมพร แสงสุวรรณ NTP คุณหรือเปล่า เป็นคนที่สามารถบอกเพื่อนได้ว่า ระบบย่อยไม่มีความซับซ้อน กินแป้งและของหวานมากไป ก็เหนื่อย และกระวนกระวาย พุงออก แก้มป่องขึ้นมาเลย ยิ่งถ้าไม่กินโปรตีนก็ยิ่งเพลีย หมดแรง เป็นแบบว่า กินแป้งก็เอ็นจอย กินโปรตีนไขมันก็อร่อย ถ้าใช่ ลักษณะระบบย่อยของคุณคือ สายผสม ค่ะ อาหารควรกินสำหรับสายนี้คืออะไร อาหารควรงดล่ะ เอื้อม NTP นำคำตอบมาบอก วิลเลี่ยม แอล.วอลค็อต (William L. Wolcott) นักวิทยาศาสตร์ด้านอาหาร และนักบำบัดโรคด้วยอาหาร ผู้เชี่ยวชาญด้านเมตาบอลิกไทพิ้ง ผู้เขียนหนังสือเรื่อง The Metabolic Typing Diet ยกตัวอย่างคนไข้ของเขาคนหนึ่งชื่อ ซาร่า เฮนเนสซี ซึ่งดูแลสุขภาพตนเองตามคำแนะนำทั่วไป และสุดท้ายกลายเป็นว่า เธอป่วย สะท้อนให้เห็นว่า การดูแลสุขภาพแบบผู้ไม่มีความรู้ ทำตามข้อมูลทั่วไป ที่พบอยู่ตามสื่อต่าง ๆ นั้น ไม่ใช่หนทาง “ฉลาด” ที่จะป้องกันความเจ็บป่วยอันเกิดจากพฤติกรรมได้เลย ซาร่ากินอาหารสุขภาพ…

Protein Type  อาหารควรกิน VS งด สำหรับสายโปรตีน (สายกินตัวจริง)

โดย เอื้อมพร แสงสุวรรณ NTP คุณหรือเปล่า เป็นคนอารมณ์ดี กินเก่ง กินเยอะ กินจุ กินทุกอย่าง กินโปรตีนได้ กินไขมันก็อร่อย รูปร่างท้วม เพื่อนเรียกว่า ระยะสุดท้ายก่อนอ้วน น้ำหนักไม่ได้ขึ้นง่าย ๆ แต่ก็ไม่ได้ลงง่าย ๆ เช่นกัน โดยเฉพาะถ้าอยากลดความอ้วน แล้วลองกินอาหารตามคนผอม (กว่าเรา) เช่น กินผักผลไม้แทนอาหารหลัก กลายเป็นว่าน้ำหนักกลับเพิ่มขึ้น หรือบางช่วงเผลอกินคาร์โบไฮเดรตเยอะ ก็กลายเป็นว่า ติดแป้งและของหวานเฉยเลย ถ้ามีลักษณะใกล้เคียงอะไรแบบนี้ นั่นแปลว่าลักษณะระบบย่อยของคุณคือ สายโปรตีน และกำลังกินไม่ถูกสัดส่วนของตนเองอยู่   วิลเลี่ยม แอล.วอลค็อต (William L. Wolcott) นักวิทยาศาสตร์ด้านอาหาร และนักบำบัดโรคด้วยอาหาร ผู้เชี่ยวชาญด้านเมตาบอลิกไทพิ้ง ผู้เขียนหนังสือเรื่อง The Metabolic Typing Diet ยกตัวอย่างคนไข้ของเขาคนหนึ่งชื่อ ซาร่า เฮนเนสซี ซึ่งดูแลสุขภาพตนเองตามคำแนะนำทั่วไป และสุดท้ายกลายเป็นว่า เธอป่วย สะท้อนให้เห็นว่า การดูแลสุขภาพแบบผู้ไม่มีความรู้…

Carbo Type อาหารควรกิน VS งด สำหรับนักกินสายคาร์บ

โดย เอื้อมพร แสงสุวรรณ NTP คุณหรือเปล่า ไม่ค่อยอยากกินอาหารเช้า และเริ่มวันใหม่ด้วยกาแฟหนึ่งแก้วและขนมนิดหน่อย แล้วระหว่างวันก็อยากกินแต่ข้าว ก๋วยเตี๋ยว ของหวาน และผลไม้วนไป น้ำหนักก็ขึ้นง่าย อารมณ์ก็ไม่ค่อยดี (จนกว่าจะได้กินอาหาร) รู้สึกว่าเครียดง่าย ลุกลน ทั้งที่คนอื่นนั่งชิลล์ ไม่สิ!! เราไม่ควรรู้สึกอย่างนั้น คนเราควรมีอารมณ์นิ่งสงบ กินอาหารตรงตามมื้ออาหาร และไม่อยากกินอะไรที่จะนำพาน้ำหนักและโรคร้ายมาให้ ทำอย่างไรเล่า?? เพื่อรักษาอารมณ์ให้ดีอย่างนั้น นักบำบัดโรคด้วยอาหาร (NTP) ชี้แจงผ่านบทความนี้ว่า นักกินสายคาร์บหรือผู้ที่รักการกินแป้งจะต้องปรับสัดส่วนอาหารในแต่ละมื้ออย่างไร   เช็คให้ชัวร์ว่า ใช่นักกินสายคาร์บแน่ ตามลิงค์นี้ไปเลยค่ะ จะมีแบบสอบถามให้ตอบ จะได้ทราบว่า คุณเป็นนักกินสายไหน https://firstthaintp.com/2018/10/21/เช็คระบบย่อย-คุณกินคาร์/?fbclid=IwAR0DAr_qzMGS6rxbQApqDZ8drMja1K56fe-7dG94PJHzs9ib5-XI7i3BHRg   หากคำตอบคือ A ส่วนใหญ่ ก็ใช่สายคาร์บแน่ เพราะคนที่มีลักษณะระบบย่อยสายคาร์โบไฮเดรต หรือสายคาร์บนั้น มีระบบย่อยทำงานช้ากว่า จึงต้องกินอาหารครั้งละน้อย ๆ แต่บ่อยมากกว่าคนกลุ่มอื่น ด้วยเหตุเดียวกันนี้เอง ร่างกายจึงสามารถพึ่งพาพลังงานจากการกินแป้ง แม้จะมีปัญหาภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูง ๆ ต่ำ ๆ แต่ก็ไม่ค่อยปรากฏอาการอะไรมากนัก นอกจากนี้…

เช็คระบบย่อย คุณกินคาร์บ โปรตีน ไขมัน ได้แค่ไหน

    โดย เอื้อมพร แสงสุวรรณ NTP เราสงสัยเสมอว่า ทำไมบางคนกินเก่งแต่ไม่อ้วน แต่บางคนกินนิดหน่อยน้ำหนักก็ขึ้นแล้ว และเราก็เดากันมั่ว ว่า เป็นเพราะระบบย่อยคนนั้นดีกว่าคนนี้ เปล่าค่ะ คำตอบที่ถูกต้องตามหลักศาสตร์ฟังก์ชั่นนอลเมดิซีน (functional medicine) คือ ร่างกายแต่ละคนมีลักษณะระบบย่อยไม่เหมือนกัน อาหารที่ควรกินและควรงดก็ไม่เหมือนกัน เอื้อม NTP ชวนเช็คระบบย่อยว่า คุณสามารถกินคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน ได้มากน้อยแค่ไหน ศาสตร์ฟังก์ชั่นนอลเมดิซีน (functional medicine) ถือกำเนิดขึ้นในช่วงทศวรรษให้หลังนี้เอง เป็นการต่อยอดจากงานวิจัยทางการแพทย์หลายต่อหลายชิ้น ที่ยืนยันว่า แต่ละบุคคลนั้นมีลักษณะระบบย่อยแตกต่างกัน ฉะนั้นการรักษาโรคหรือความผิดปกติแบบเดียวกัน จึงต้องใช้วิธีแตกต่างกันในแต่ละบุคคล วิลเลี่ยม แอล.วอลค็อต (William L. Wolcott) นักวิทยาศาสตร์ด้านอาหาร และนักบำบัดโรคด้วยอาหาร ผู้เชี่ยวชาญด้านเมตาบอลิกไทพิ้ง ผู้เขียนหนังสือเรื่อง The Metabolic Typing Diet (หรือ เมตาบอลิกไทพ์ไดเอท) ยกตัวอย่างคนไข้ของเขาคนหนึ่งชื่อซาร่า เฮนเนสซี ซึ่งดูแลสุขภาพตนเองตามคำแนะนำทั่วไป และสุดท้ายกลายเป็นว่า เธอป่วย สะท้อนให้เห็นว่า การดูแลสุขภาพแบบผู้ไม่มีความรู้…

อาหารต้องกิน VS งด ลดไขมันพอกตับ

โดย เอื้อมพร แสงสุวรรณ NTP ก่อนอื่นต้องมาทำความเข้าใจกันใหม่ค่ะ นอกจากการขับพิษ ตับยังมีบทบาทสำคัญต่อการทำงานของร่างกายอีกมากมาย ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เราเกรงกลัว “ตับ” เลยพานไม่กิน “ตับสัตว์” ยกตัวอย่างคือ ตับ ทำหน้าที่ควบคุมระดับคลอเรสเตอรอล ระดับน้ำตาลในเลือด กระตุ้นการเผาผลาญไขมัน ป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือด โดยคัฟเฟอร์เซลล์ (kuffer cells) ทำหน้าที่กำจัดเชื้อแบคทีเรียและไวรัส ส่วนพีตเซลล์ (pit cells) ทำหน้าที่ฆ่าเชื้อโรค อย่างไรก็ตาม สเตลเลทเซลล์ (stellate cells) ทำหน้าที่สะสมวิตามินดี และคอลลาเจน ในช่วงเวลาที่เราไม่กินอาหาร (the fast state) ตับจะทำหน้าที่แปลงไขมันในตับ เป็นกลูโคสและคีโตน เพื่อให้ร่างกายใช้เป็นพลังงาน ส่วนช่วงเวลาที่กำลังกินอาหารและย่อยอาหาร (the fed state) ตับจะนำกลูโคสและคีโตนไปสะสมไว้ ในรูปแบบของไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ เพื่อแพ็คเป็นคลอเรสเตอรอล ส่งเข้ากระแสเลือด เพื่อไปใช้ในการสร้างฮอร์โมน และทำหน้าที่อื่น ๆ หากเรากินอาหารไขมันสูง และคาร์โบไฮเดรตต่ำ ร่างกายต้องใช้พลังงานจากไขมัน โดยตับจะแปลงไขมันออกมาเป็นคีโตนออกมาในกระแสเลือด เพื่อใช้เป็นพลังงาน หากกินอาหารคาร์โบไฮเดรตสูง…