โดย เอื้อมพร แสงสุวรรณ NTP ปัจจุบัน สูตรอาหารลดความอ้วนมีมากมายหลายแบบ เช่น อาหารปาลิโอ อาหารคีโต แถมยังมีประเด็นยอดฮิต การอดอาหารแบบ intermittent fasting หรือ IF ปักษ์นี้เอื้อม NTPก็มีสูตรอาหารลดอ้วนอีกสูตรหนึ่งมาช่วยลดน้ำหนักกัน เป็นสูตรที่เราเรียบเรียงมาจากหนังสือFAT FLUSH PLANของดร.แอน หลุยส์ กิตเตอร์แมน นักบำบัดโรคด้วยอาหาร ซึ่งกล่าวถึง 10 สาเหตุแท้จริง(root causes) ของความอ้วนเอาไว้ดังนี้(รายละเอียดเรื่องวิธีการลดอ้วนอยู่ในคอลัมน์เรื่องพิเศษ นิตยสารชีวจิต ฉบับวันที่ 16 กันยายน 2561) ตับขับพิษไม่ทัน ไม่ดื่มน้ำ กินไขมันไม่เป็น ดื้ออินซูลินและการอักเสบ ความเครียด จุลินทรีย์ในลำไส้ไม่สมดุล น้ำดีมีไม่พอ ไทรอยด์ทำงานผิดปกติ ติดเชื้อพยาธิ ขาดแมกนีเซียม ตามสาเหตุข้างต้น เอื้อมเลยมาปรับเป็นสูตรการกินง่าย ๆ เพื่อลดน้ำหนัก โดยเฉพาะสำหรับเพื่อนรูปร่างท้วมบางคนที่กินอาหารไม่ครบถ้วน และไม่ถูกสัดส่วน โดย 4 หัวข้อข้างต้นที่ไฮไลต์ไว้คือ อาหารง่าย ๆ…
Month: November 2018
6 ซุปเปอร์แร่ธาตุช่วยร่าง หลังเครียดเรื้อรัง
โดย เอื้อมพร แสงสุวรรณ NTP เราทุกคนต้องเผชิญหน้ากับความเครียดอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน นอกจากการผ่อนคลายความเครียด หลายคนหาซุปเปอร์ฟู้ด (ที่เขาว่าดี) ในท้องตลาดมากิน เพื่อให้ความเครียดบรรเทาลง แต่ก็ทำได้ชั่วคราว เพราะไม่รู้มาก่อนว่า มี 6 ต่อมในร่างกาย ที่ช่วยสร้างสมดุลการทำงานของร่างกาย ที่เกี่ยวข้องกับความเครียด และต่อมเหล่านั้นต้องการแร่ธาตุแตกต่างกัน ทั้งนี้หากเรารู้ว่าคืออะไร และกินอาหารที่มีแร่ธาตุเหล่านั้น ก็จะช่วยแก้โรคเครียดเรื้อรังได้อย่างมีปรัสทิธิภาพมากกว่า ความเครียดคืออะไร ความเครียดถ้าแค่การจดจ่อตั้งใจทำอะไรสักอย่างเราถือว่าทุกคนจำเป็นต้องมีเพื่อการทำงานให้สำเร็จลุล่วงเพื่อเป้าหมายสัมฤทธิ์ผลนับเป็นภาวะปกติของมนุษย์ที่ไม่ก่อปัญหาอะไรต่อสุขภาพตรงกันข้ามการไม่มีเป้าหมายการดำเนินชีวิตไปอย่างเลื่อนเปื้อนล่องลอยกลับก่อปัญหาต่อชีวิตตนเองครอบครัวและอาจกลายเป็นภาระของสังคม ความเครียดที่ก่อปัญหาสุขภาพคือการจดจ่อตั้งใจแบบที่จะต้อง“เอาชนะ” คิดแผนนำเสนอแผนเพื่อให้เพื่อนร่วมงานยอมรับชักจูงทุกคนในทีมเพื่อให้ลงคะแนนให้ไอเดียเราทั้งนี้ต้องไม่ให้มีอะไรผิดแผนมิเช่นนั้นเราจะต้องเริ่มใหม่คิดแผนแบบซับซ้อนเพื่อให้ทุกอย่างเป็นไปได้ตามที่เราต้องการ สถานการณ์เช่นนี้สามารถเกิดได้กับทุกคนทำงานทุกคนโดยเฉพาะผู้อ่านชีวจิตที่อยู่ในวัยของนักบริหารที่ต้องวางแผนและใช้กระบวนการดังกล่าวข้างต้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าซึ่งรู้ไหมว่าเราได้ปล่อยให้ต่อมอะดรีนัลหรือต่อมหมวกไตปล่อยฮอร์โมนคอร์ติซอล(และบางทีสถานการณ์ดุเดือดจัดก็ปล่อยฮอร์โมนอิพิเดฟรินหรืออะดรีนาลีน) ออกมาทำงานทำงานทำงานและทำงาน การทำงานของความเครียด เราได้ยินฮอร์โมนความเครียดหรือคอร์ติซอลกันมาเสมอหลายคนก็รู้สึกว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่มนุษย์ต้องจดจ่อและบ่อยครั้งก็เพิ่มดีกรีเป็นการเอาชนะ ทั้งในส่วนตัวงานเอง และการเอาชนะเพื่อน่วมงานคนอื่น และเมื่อต่อมหมวกไตของเราหลั่งคอร์ติซอลได้ต่อมหมวกไตคนอื่นก็หลั่งได้เหมือนกันฉะนั้นการจะให้สำเร็จในงานและในหลายๆเรื่องในชีวิตประจำวันเราจึงต้องแข่งกันหลั่งคอร์ติซอล ร่างกายเราทุกคนทำให้ต่อมหมวกไตหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลได้แต่รู้ไหมคะว่าสำหรับคนสมัยโบราณคอร์ติซอลจะหลั่งในช่วงเวลาที่เกิดไฟไหม้ควายป่าบุกหรือเพื่อนบ้านในหมู่บ้านถูกเสือกัดเป็นฮอร์โมนที่ร่างกายจะหลั่งในสถานการณ์“fight to flight” หมายถึงพร้อมสู้และพร้อมหนีซึ่งฮอร์โมนคอร์ติซอลจะไปดึงเอาพลังงานจากตับ(ในรูปไกลโคเจน) พร้อมกับสะสมกลับไปยังตับพร้อมกันด้วยและดึงไขมันจากกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อต่างๆออกมาแปลงเป็นพลังงาน(เรียกว่ากระบวนการglyconeogenesis) เพื่อให้ร่างกายมีพลังงานมากกว่าปกติพร้อมสำหรับการสู้รบและการจัดการอย่างเร่งด่วนทุกรูปแบบ สถานการณ์แบบนี้ ไม่เป็นไรปล่อยให้ต่อมหมวกไตทำงานไปต่อมน้อยๆอยู่เหนือไตขนาดเล็กกระจิ๋วน่ารักน่าเอ็นดูแต่พลังการทำงานและการควบคุมความเครียดนั้นมากมาย ต่อมหมวกไตเป็นส่วนหนึ่งของระบบเอ็นโดคริน(Endocrine) ซึ่งเป็นระบบการทำงานของร่างกายที่ซับซ้อนที่สุดระบบหนึ่ง หนึ่งเนื่องจากต่อมหมวกไต(เล็กเกินไป) เลยต้องใช้นายใหญ่ของร่างกายนั่นคือสมองเป็นตัวช่วย(ในการดึงพลังงานออกมาจากร่างกายทุกส่วนนอกเหนือจากตับที่เป็นตัวสะสมพลังงาน) และเมื่อนายใหญ่ออกโรงซึ่งคือต่อมพิทูอิทารี่และต่อมไธลามัสครั้งหนึ่งก็สะเทือนไปถึงต่อมไทรอยด์(ซึ่งอ่อนไหวและบอบบางแต่สำคัญมากที่สุดโดยเฉพาะเมื่อนางถูกกระทบด้วยฮอร์โมนคอร์ติซอล) ฮอร์โมนเพศ(ได้แก่เทสโทสเตอโรนเอสโตรเจนโปรเจสเตอโรน) แถมการออกโรงของสองต่อมที่สำคัญในสมองยังก่อความสั่นสะเทือนเลื่อนลั่นไปยังเซลล์เล็กเซลล์น้อยทั่วร่างกายเกิดเป็นการอักเสบไปทั่วสรรพางกายเพิ่มความดันโลหิตและคลอเลสเตอรอล(เมื่อเกิดการอักเสบคลอเรสเตอรอลจะออกมาเพล่นพล่านเพื่อทำหน้าที่รักษาอาการอักเสบของเซลล์…